เดิม หนองใหญ่เรียก หนองคอก่าน หรือ หนองด่าน คำว่า คอ คือส่วนแห่งร่างกายที่ต่อลำตัวเข้ากับศีรษะ คำว่า ก่าน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2523 อธิบายว่า ด่าง เก่ง กล้า กั่น และความหมายของสารานุกรม หมายถึง ชนเผ่าหนึ่งชอบสักคอด้วยสีดำ มอญเรียกนกคอก่านหมาที่มีสีขาวเรียกหมาหางก่านและงูที่มีสีดำ สีขาว สีเหลืองสลับกัน ดังนั้นคำว่า คอก่านจึงสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีสีขาวรอบคอว่าคอก่าน มีตำนานเล่าขานกันมาว่า
กาลครั้งหนึ่งมีกุลา 3 คน หามฆ้องเที่ยวขายไปตามวัดและหมู่บ้าน คำว่า กุลา หรือ กุหล่า พจนานุกรมอธิบายว่า เป็นชนชาตินักสู้ ไทยใหญ่ ซึ่งชาวต่างประเทศฝรั่งเรียกว่า กุลาขาว แขกเรียกว่า กุลาดำ ดังนั้นจึงไม่อาจสรุปได้แน่ชัดว่า กุลา 3 คนที่หามฆ้องมาขาย เป็นชนเผ่าใด