เทศบาลตำบลน้ำอ้อม
อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น
https://www.numoom.go.th
นายจำเนียร  เหล่าสุพรรณ
นายจำเนียร เหล่าสุพรรณ
นายกเทศมนตรี
ข้อมูล เทศบาล
บุคลากร
ข้อมูล การดำเนินงาน
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
online ขณะนี้
   คน
สถิติวันนี้
170   คน
สถิติทั้งหมด
47143   คน
เริ่มนับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563

ฉีดพ่นยาป้องกันโรคลัมปี สกิน” (Lumpy Skin Disease) โรคอุบัติใหม่ในโค กระบือ 

ลงข่าว: 25/03/2565    2   199

โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease)

ประเทศไทยพบการระบาดครั้งแรกของ “โรคลัมปี สกิน” (Lumpy skin disease) เกิดเฉพาะในโค กระบือ ไม่เป็นโรคติดต่อสู่คน

            โรคลัมปี สกิน เป็นโคที่เกษตรกรรายย่อยที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 10 ราย จากจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในพื้นที่จำนวน 5,000 ราย โดยเกษตรกรแต่ละรายพบโคป่วย 1-2 ตัว จึงเก็บตัวอย่างส่งตรวจที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ซึ่งต่อมาผลทางห้องปฏิบัติการตรวจพบเชื้อไวรัสโรคลัมปี สกิน จึงเป็นการตรวจพบโรคดังกล่าวเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

           จากการสอบสวนโรคเบื้องต้น สาเหตุการเกิดโรคเกิดจากการนำเข้าโคเนื้อมาเลี้ยงใหม่ในพื้น โดยเป็นโคเนื้อที่อาจมีการลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านในขณะนี้ กรมปศุสัตว์ได้เร่งดำเนินการควบคุมโรคเพื่อลดความสูญเสียให้กับเกษตรกร และเฝ้าระวังโรคในจังหวัดข้างเคียง

รู้จัก “โรคลัมปี สกิน”

              โรคลัมปี สกิน เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่สำคัญในโคกระบือ แต่ไม่ใช่โรคที่ติดสู่คนได้ เกิดจากเชื้อไวรัส ???????????????????? ???????????????? ???????????????????????????? ???????????????????? ในสกุล ???????????????????????????????????????????????????? สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองโต และมีตุ่มขนาดใหญ่ ประมาณ 2-5 เซนติเมตร ขึ้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย พบมากที่คอ หัว เต้านม ถุงอันฑะและหว่างขา ตุ่มที่ขึ้นอาจแตก ตกสะเก็ดและเกิดเป็นเนื้อตาย หรือมีหนอนแมลงมาไชได้ อาจพบตุ่มน้ำใสขึ้นที่เยื่อเมือก ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการน้ำลายไหล ตาอักเสบ มีตุ่มขึ้นที่เยื่อเมือกตา น้ำตาไหลและ

มีขี้ตา

             นอกจากนี้สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร อาจมีภาวะเป็นหมันชั่วคราวหรือถาวร แท้งลูกและมีปริมาณน้ำนมลดลง อัตราการป่วยอยู่ที่ 5 – 45 % อัตราการตายน้อยกว่า 10% แต่อาจมีอัตราการตายสูงในพื้นที่ที่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน ผลกระทบส่วนใหญ่จะอยู่ที่ผลผลิตที่ลดลง

การติดต่อของโรคนี้ 

               ติดจากแมลงดูดเลือด เช่น เห็บ ยุง แมลงวัน และอาจติดจากการสัมผัสใกล้ชิดกันของสัตว์ ติดจากน้ำลาย สารคัดหลั่ง สะเก็ดแผล รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน

วิธีการป้องกันโรค 

            คือ การกำจัดและป้องกันแมลงในพื้นที่ ทำความสะอาดคอกและอุปกรณ์ในการเลี้ยง และกักสัตว์ใหม่ก่อนนำเข้าพื้นที่ โรคนี้ไม่มีการรักษาจำเพาะ ทำได้เพียงรักษาตามอาการ ส่วนวัคซีนป้องกันโรคจะมีการนำเข้ามาในประเทศที่มีการระบาดของโรคแล้ว

           โรคนี้เริ่มแพร่ระบาดในเอเชียตั้งแต่ปี 2562 ในจีนแผ่นดินใหญ่ บังกลาเทศ และอินเดีย หลังจากนั้น ในปี 2563 พบการระบาดในภูฏาน เนปาล ศรีลังกา ฮ่องกง ไต้หวัน เวียดนามและพม่า ประเทศไทยมีการติดตามสถานการณ์ในต่างประเทศและเฝ้าระวังโรคตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา รวมถึงการประกาศชะลอการนำเข้าโคกระบือจากประเทศพม่า โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) เป็นโรคระบาดตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 หากพบสัตว์มีอาการต้องสงสัย ต้องเเจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ เพื่อดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคต่อไป