สภาพทางสังคมของตำบลน้ำอ้อม
ประวัติความเป็นมา
เดิมพื้นที่ตำบลบ้านน้ำอ้อมเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติดงมูล ในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ และมีการอพยพผู้คนเข้ามาตั้งบ้านเรือน จากหลายพื้นที่ อาทิ
- จากอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม นำโดยนายพิมพ์ ไชยตอกเกี้ย มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่
บ้านตอกเกี้ย
- ปี พ.ศ. ๒๔๕๑ จากบ้านพิมูล กิ่งอำเภอคำใหญ่ มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านน้ำอ้อม
- ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ มีผู้อพยพมาจากบ้านแห้ว บ้านคู มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หนองซา
โดยระยะแรกเป็นส่วนหนึ่งของตำบลหนองกุงใหญ่ ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๓๒ แยกตัวออกมาและยกฐานะเป็นตำบล
น้ำอ้อม ตามพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ในเวลาต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำอ้อม เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๙ และจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ จนถึงปัจจุบัน
สภาพการณ์สังคม
ด้านการศึกษา
มีสถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน และขยายโอกาสทางการศึกษา มีจำนวน ๒ แห่ง คือ
(๑) โรงเรียนชุมชนน้ำอ้อม พื้นที่ให้บริการได้แก่
บ้านน้ำอ้อม หมู่ที่ ๑, บ้านน้ำอ้อมเหนือ หมู่ที่ ๗, บ้านตอกเกี้ย หมู่ที่ ๒, บ้านเวียงอินทร์ หมู่ที่ ๓
และ บ้านกุดจาน หมู่ที่ ๔
(๒) โรงเรียนบ้านหนองซาพื้นที่ให้บริการได้แก่
บ้านหนองซา หมู่ที่ ๖, บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ ๕, และ บ้านส่างทิพย์ หมู่ที่ ๘
(๓) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำอ้อม
ให้บริการรับเลี้ยงเด็กเล็กปฐมวัยทั้ง ๘ หมู่บ้าน
ด้านสาธารณสุข
เทศบาลตำบลน้ำอ้อมมีสถานให้บริการด้านสาธารณสุขให้แก่ประชาชน จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำอ้อม ตั้งอยู่ บ้านเวียงอินทร์ หมู่ที่ ๓ บ้านเวียงอินทร์
การสังคมสงเคราะห์
เทศบาลตำบลน้ำอ้อม มีการดำเนินการด้านการจัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ดังนี้
(๑) จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน ๖๙๕ คน แยกเป็น
- ผู้สูงอายุเพศชาย จำนวน ๓๔๐ คน
- ผู้สูงอายุเพศหญิง จำนวน ๓๕๕ คน
(๒) เบี้ยยังชีพผู้พิการ จำนวน ๑๗๕ คน แยกเป็น
- ผู้พิการชาย จำนวน ๘๐ คน
- ผู้พิการหญิง จำนวน ๙๕ คน
(๓) เบี้ยผู้ป่วยเอดส์ จำนวน ๘ คน แยกเป็น
- ผู้ป่วยเอดส์ชาย จำนวน ๔ คน
- ผู้ป่วยเอดส์หญิง จำนวน ๕ คน
(๔) สังเคราะห์ช่วยเหลือผู้ยากไร้และด้อยโอกาส จำนวน ๒๑ ราย
ด้านบริการพื้นฐาน
(๑) การคมนาคมขนส่ง
เทศบาลตำบลน้ำอ้อม ห่างจากจังหวัดขอนแก่นประมาณ๗๐ กิโลเมตร ตามเส้นทางถนนมิตรภาพมุ่งหน้าสู่จังหวัดอุดร ถึงแยกเข้าอำเภอน้ำพอง ซึ่งเป็นทางทิศเหนือของตำบลน้ำอ้อมเป็นพื้นที่ของเทศบาลเมืองกระนวน ใช้เส้นทาง กระนวน – น้ำพอง ทิศตะวันตกติดกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่ มีเส้นทางสายกระนวน – เชืยงยืน จังหวัดมหาสารคาม ทิศตะวันออกติดกับตำบลคำใหญ่ อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเส้นทางสาย กระนวน – ยางตลาด
(๒) การไฟฟ้า
ตำบลน้ำอ้อม รับบริการด้านไฟฟ้าจากสถานีไฟฟ้าย่อยอำเภอกระนวนมีไฟฟ้าใช้ครอบคลุมทุกครัวเรือน ในส่วนการใช้ไฟฟ้าที่อยู่นอกเหนือการให้บริการ มีการนำไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้สำหรับบางครัวเรือนที่อยู่นอกพื้นที่ชุมชน เช่น สวนยาง ฟาร์มไก่ เป็นต้น
(๓) การประปา
ตำบลน้ำอ้อมใช้บริการน้ำประปาจาก
(๑) การประปาส่วนภูมิภาค ได้แก่ หมู่ที่ ๕, ๖, ๘
(๒) ประปาบาดาล ได้แก่ หมู่ที่ ๑, ๒, ๓, ๔,๗
ด้านการเมืองการปกครอง
ตำบลน้ำอ้อม แบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น ๒ เขต ได้แก่
เขต ๑ ได้แก่ บ้านหนองซา หมู่ที่ ๖, บ้านส่างทิพย์ หมู่ที่ ๘, บ้านโนนสวรรค์หมู่ที่ ๕, บ้านกุดจาน หมู่ที่ ๔
เขต ๒ ได้แก่ บ้านเวียงอินทร์ หมู่ที่ ๓, บ้านน้ำอ้อม หมู่ที่ ๑, บ้านน้ำอ้อมเหนือ หมู่ที่ ๗, บ้านตอกเกี้ย หมู่ที่ ๒
ด้านเศรษฐกิจ
(๑) การเกษตร
เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ได้แก่
การทำนา
เป็นอาชีพหลักของประชากร ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นการปลูกข้าวเหนียวเพื่อบริโภค พันธ์ที่นิยมปลูกได้แก่ พันธ์ กข.๖ ส่วนข้าวจ้าวนิยมปลูกพันธ์ข้าวหอมมะลิ
การทำไร่ เป็นอาชีพหลักรองจากการทำนา ส่วนใหญ่เป็นพืชเศรษฐกิจ ได้แก่
- อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจทีนิยมปลูกกันมาก เนื่องจากมีแหล่งรับซื้ออยู่ใกล้ (อำเภอน้ำพอง)
- มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจทีนิยมปลูกมากเช่นกัน เนื่องจากมีแหล่งรับซื้ออยู่ ในเขตพื้นที่
- ยางพารา เป็นพืชที่กำลังเป็นที่นิยมปลูก เนื่องจากมีราคาสูงประกอบกับมีการส่งเสริมจาก
ส่วนราชการ
การทำเกษตรฤดู แล้ง หลังฤดูการเก็บเกี่ยว จะมีการปลูกพืชอายุสั้นเพื่อเสริมราย
ได้พืชที่ที่นิยมปลูกได้แก่
-ข้าวโพด จะเริ่มปลูกประมาณเดือนพฤศจิกายน-เดือนเมษายน ของทุกปี มีหลายสายพันธ์ ได้แก่ ข้าวโพดข้าวเหนียว สายน้ำผึ้ง ซุปเปอร์สวีท พันธ์ข้าวก่ำ เป็นต้น พื้นที่ปลูกคือบ้านน้ำอ้อม หมู่ที่ ๑
บ้านน้ำอ้อมเหนือ หมู่ที่ ๗ ผลผลิตจำหน่ายบริเวณริมถนนสาย กระนวน - ยางตลาด และมีพ่อค้ามารับไปจำหน่าย รายได้ประมาณ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ บาท/งาน
- เห็ดฟาง พื้นที่ปลูกอยู่ที่บ้านกุดจาน หมู่ที่ ๔ บ้านเวียงอินทร์ หมู่ที่ ๓
การปศุสัตว์
การเลี้ยงสัตว์ ตำบลน้ำอ้อม มีการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริมรายได้ ดังนี้
(๑) ฟาร์มสุกร จำนวน ๑๔ แห่ง
(๒) ฟาร์มไก่ จำนวน ๕ แห่ง
(๓) ฟาร์มโคนม จำนวน ๑ แห่ง
(๔) ฟาร์จระเข้ จำนวน ๑ แห่ง
การบริการ
(๑) ร้านค้า จำนวน ๓๓ แห่ง
(๒) โรงสี จำนวน ๓ แห่ง
(๓) โรงแรม จำนวน ๒ แห่ง
(๔) รีสอร์ท จำนวน ๑ แห่ง
(๕) สวนอาหาร จำนวน ๒ แห่ง
การท่องเที่ยว
ตำบลน้ำอ้อม ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตรกรรม ไม่มีพื้นที่ของสวนสาธารณะสำหรับการจัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว หรือพักผ่อนหย่อนใจ ประกอบกับไม่มีพื้นที่ที่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ หรือป่าไม้สาธารณะตามประกาศของกรมป่าไม้
การอุตสาหกรรม
ตำบลน้ำอ้อม ไม่มีการประกอบการด้านอุตสาหกรรม
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพต่างๆ ดังนี้
๑.๑ กลุ่มโค – กระบือ จำนวน ๖ กลุ่ม สมาชิก จำนวน ๑๕๔ คน
๑.๒ กลุ่มข้าวโพด จำนวน ๑ กลุ่ม สมาชิก จำนวน ๑๓๔ คน
๑.๓ กลุ่มเพาะเห็ดฟาง จำนวน ๓ กลุ่ม สมาชิก จำนวน ๒๘ คน
๑.๔ กลุ่มไร่นาสวนผสม จำนวน ๑ กลุ่ม สมาชิก จำนวน ๒๕ คน
๑.๕ กลุ่มสหกรณ์ชาวไร่อ้อย จำนวน ๑ กลุ่ม สมาชิก จำนวน ๓๕๓ คน
๑.๖ กลุ่มสหกรณ์ชาวไร่มันสำปะหลัง จำนวน ๑ กลุ่ม สมาชิก จำนวน ๓๘ คน
๑.๗ กลุ่มแปรรูปสมุนไพร จำนวน ๑ กลุ่ม สมาชิก จำนวน ๕๓ คน
๑.๘ กลุ่มผักปลอดสารพิษ จำนวน ๑ กลุ่ม สมาชิก จำนวน ๔๗ คน
๑.๙ กลุ่มทอผ้า จำนวน ๘ กลุ่ม สมาชิก จำนวน ๗๓ คน
แรงงาน
เทศบาลตำบลน้ำอ้อม มีการประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์ เช่น ฟาร์มสุกร ฟาร์มไก่ ในหลายครัวเรือน จึงมีการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานจำนวนหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นแรงงานสัญชาติลาวซึ่งเข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนแรงงานในพื้นที่นั้นส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ประกอบอาชีพของตนเอง ส่วนแรงงานหนุ่มสาวออกไปรับจ้างนอกพื้นที่ เช่น กรุงเทพฯ และปริมณฑล และเขตนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ
ด้านศาสนา วัฒนธรรมประเพณี
(๑) สถาบันศาสนา
จำนวนสถาบันศาสนาในพื้นที่เทศบาลตำบลน้ำอ้อม ประกอบด้วย
วัด จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่
๑) วัดประทุมคงคา ตั้งอยู่ที่ บ้านน้ำอ้อม หมู่ที่๑,๗
๒) วัดเนกขัมมาภิรมณ์ ตั้งอยู่ที่ บ้านตอกเกี้ย หมู่ที่ ๒
๓) วัดชุมพรชัยศรี ตั้งอยู่ที่ บ้านเวียงอินทร์ หมู่ที่ ๓
๔) วัดธรรมราชรังสี ๒ ตั้งอยู่ที่ บ้านกุดจาน หมู่ที่ ๔
๕) วัดไตรมิตร ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองซา หมู่ที่ ๖,บ้านส่างทิพย์
สำนักสงฆ์ จำนวน๔ แห่ง ได้แก่
๑) สำนักสงฆ์ป่าหนองหว้า ตั้งอยู่ที่ บ้านตอกเกี้ย หมู่ที่ ๒
๒) สำนักสงฆ์ดอนหอ ตั้งอยู่ที่ บ้านตอกเกี้ย หมู่ที่ ๒
๓) สำนักสงฆ์บ้านโนนสวรรค์ ตั้งอยู่ที่ บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ ๕
๔) สำนักสงฆ์บ้านส่างทิพย์ ตั้งอยู่ที่ บ้านส่างทิพย์ หมู่ที่ ๘
(๒) ประเพณีวัฒนธรรม
ประเพณีท้องที่ยังยึดถือ และปฏิบัติตามโบราณการที่สืบทอดกันมาคือ “ฮีต ๑๒ คอง ๑๔”
ด้านการเมืองการปกครอง
ตำบลน้ำอ้อม แบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น ๒ เขต ได้แก่
เขต ๑ ได้แก่ บ้านหนองซา หมู่ที่ ๖, บ้านส่างทิพย์ หมู่ที่ ๘, บ้านโนนสวรรค์หมู่ที่ ๕, บ้านกุดจาน หมู่ที่ ๔
เขต ๒ ได้แก่ บ้านเวียงอินทร์ หมู่ที่ ๓, บ้านน้ำอ้อม หมู่ที่ ๑, บ้านน้ำอ้อมเหนือ หมู่ที่ ๗, บ้านตอกเกี้ย หมู่ที่ ๒